วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธชินราช
พระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก และมีประวัติที่ยาวนาน เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดพิษณุโลก และประชาชนทั่วไปที่เลื่อมใส

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่มีลักษณะงดงาม ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตักกว้าง ห้าศอก 1 คืบ ห้านิ้ว (2.875 เมตร) สูงเจ็ดศอก (3.5 เมตร) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปิดทองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2146 และเมื่อ 2478 ได้มีการลงรักปิดทองเต็มองค์อีกครั้งหนึ่ง และเป็นการถาวรอยู่จนทุกวันนี้
พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารทางทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงายพระพักตร์หันไปทางทิศตะวันตก (ด้านริมแม่น้ำน่าน) มีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง ประดับเนี้องพระปฤษฎางค์ ปราณีตอ่อนช้อยงดงามช่วยเน้นให้พระวรกายของพระพุทธชินราชงามเด่น ชัดเจนยิ่งขึ้น
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากสุโขทัยคลาสสิก เพราะเกศมีรัศมียาวเป็นเปลวเพลง วงพระพักตร์ ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนมะตูม เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีพระอุณาโลมผลิก อยู่ระหว่างพระโขนง พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝังด้วยแก้วนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาท แบนราบ ค่อนข้างแคบ เมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และรูปท้าวเวสสุวัณ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ต่างไปจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบอื่น ๆ อย่างชัดเจนป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยหมวดพิเศษ คือ พระพุทธชินราช ตามตำนาน การสร้างพระพุทธชินราช พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 พระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกันนั้น มี 3 องค์ คือ

1. พระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบห้านิ้ว ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันตก
2. พระพุทธชินสีห์ หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบสี่นิ้ว ณ วิหารทิศเหนือ
3. พระศรี ศาสดา หน้าตักกว้าง สี่ศอกคืบหกนิ้ว ณ วิหารด้านทิศใต้

ในการหล่อพระพุทธรูป เมื่อหล่อเสร็จ แล้วยังมีทองเหลืออยู่ จึงเอามารวมกันหล่อเป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง หนึ่งศอกเศษ เรียกพระนามว่า พระเหลือกับพระสาวกเป็นพระยืนอีก 2 องค์และอิษฐที่ก่อเตาหลอมทองและสุ่มหุ่น ในการหล่อพระได้เอามารวมกันก่อเป็นชุกชี สูงสามศอก ตรงตำแหน่งที่หล่อพระพุทธชินราชและปลูกต้นมหาโพธิ์บนชุกชี 3 ต้น แสดงว่าเป็นมหาโพธิ์สถานของพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ทั้งสามองค์จึงเรียกว่า "โพธิ์สามเส้าสืบมา" พร้อมกัน นั้นได้สร้างวิหารน้อยขึ้นระหว่างต้นโพธิ์หลักหนึ่ง และได้อัญเชิญพระเหลือพร้อมพระสาวกเข้าประดิษฐาน ณ ในวิหารนั้น วิหารน้อย หลังนี้นิยมเรียกกันต่อมาว่า " วิหารพระเหลือ" หรือ "วิหารหลวงพ่อเหลือ" ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารพระพุทธชินราชเยื้องไปทางใต้เล็กน้อย
พระพุทธชินราชในประเทศไทย มีพระนามว่า "พระพุทธชินราช" อยู่ 2 องค์ คือ
1. พระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรหาวิหาร
2. พระพุทธชินราชวโรภาสธรรมจักรอรรคปฐมเทศนา นราสบพิตร ประดิษฐานอยู่ณ พระวิหารวัดพระเชตุพน เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางปฐมเทศนา หน้าตักกว้าง สี่ศอกห้านี้วเมื่อการสร้างพระพุทธรูปเสร็จสมบูรณ์แล้ว พระมหาธรรมราชชาที่ 1 โปรดให้อัญเชิญ พระพุทธชินราช ประดิษฐาน ณ พระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตก พระพุทธชินศรี ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ พระศรี ศาสดา ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศใต้
เนื่องจากพระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปในประเทศไทย และเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนทุกชั้น พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดให้หล่อพระพุทธชินราชจำลองขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน เป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯปัจจุบัน)
พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่ประดิษฐานในวัดพระศรี รัตนมหาธาตุปัจจุบันนี้ เป็นพระพุทธรูปปั้นก่ออิฐถือปูน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างขึ้นใหม่แทน พระพุทธชินสีห์ และพระ ศรีศาสดาองค์เดิม และอัญเชิญองค์เดิมไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

สร้างเมื่อง พ.ศ.1900 ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) เป็นวัดหลวงตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2458 มีพื้นที่วัด 36 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวาในปัจจุบันป็นวัดชั้นเอกวรมหาวิหารตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านทางฝั่งตะวันออก สำคัญเพราะเป็นที่ประดิษฐานพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา โดยเฉพาะพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงามที่สุดในโลก
จังหวัดพิษณุโลก ถูกขึ้นสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยขอม แต่เดิมชื่อ “เมืองสองแคว” เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย (ที่ตั้งของ วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1900 สมัยสุโขทัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน และยังคงเรียกเมืองสองแคว เรื่อยมา ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จึงเปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองพิษณุโลก เมื่อครั้งที่เสด็จมาประทับเมืองสองแควในปี พ.ศ. 2006 มีฐานะเป็น เมืองลูกหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงมีราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครอง เมืองนี้เช่นกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พิษณุโลกยังคงเป็นเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เรื่อยมา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมือง พิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑล แล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน

จังหวัดพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่ 10,815 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 842,000 คน ลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ในเขตตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่ม และมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม รวมทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร สวนรุกขชาติสกุโณทยาน (น้ำตกวังนกแอ่น) อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ วนอุทยานภูสอยดาว และ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า์

การเดินทาง

การเดินทาง


  • รถ: จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้า ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร
  • รถบัส: นั่งรถบัสประจำทางปรับอากาศหรือแบบธรรมดาสู่จังหวัดพิษณุโลก ที่สถานีขนส่ง สายเหนือหมอชิต 2 (ถนนกำแพงเพชร)
  • รถไฟ: ใช้บริการรถไฟทั้งด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา ได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สูู่่จังหวัดพิษณุโลกได้ทุกวัน
  • เครื่องบิน: ใช้บริการสายการบินในประเทศสู่จังหวัดพิษณุโลกได้ทุกวัน ได้ที่ สนามบินนานาชาติ
  •